แนวข้อสอบ พรบ. องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2562 ตัวอย่างแนวข้อสอบสำหรับเตรียมสอบงานราชการ การทำข้อสอบผิดในขั้นตอนการเตรียมตัวสอบก็เพื่อให้เรากลับไปทบทวนในบท หรือเนื้อหาที่เรายังอ่านไม่ครอบคลุม
พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังวหัด ปัจจุบันแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับใด
ก. แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 4 พ.ศ. 2552
ข. แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 5 พ.ศ. 2552
ค. แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 5 พ.ศ. 2556
ง. แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ พ.ศ. 2562
ตอบ. แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 5 พ.ศ. 2556
ข้อใดไม่ใช่ ราชการส่วนท้องถิ่นอื่น ตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540
ก. สุขาภิบาล
ข. องค์การบริหารส่วนตำบล
ค. องค์การบริหารส่วนจังหวัด
ง. เมืองพัทยา
ตอบ. องค์การบริหารส่วนจังหวัด
ให้ตราพระราชบัญญัติ องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 ขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมจากใคร
ก. รัฐสภา
ข. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ค. สภาร่างรัฐธรรมนูญ
ง. สภาผู้แทนราษฎร
ตอบ. รัฐสภา
ผู้ใดรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
ก. นายกรัฐมนตรี
ข. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ค. สภาร่างรัฐธรรมนูญ
ง. สภาผู้แทนราษฏร
ตอบ. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (มาตรา 6.ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวง ประกาศและระเบียบเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
จังหวัดใดมีราษฎรเกินห้าแสนคนแต่ไม่เกินหนึ่งล้านคน ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้กี่คน
ก. 24 คน
ข. 30 คน
ค. 36 คน
ง. 42 คน
ตอบ. 30 คน
องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีฐานะเป็น
ก. นิติบุคคล
ข. ราชการส่วนท้องถิ่น
ค. ทบวงการเมือง
ง. ข้อ ก.และ ข้อ ข.
ตอบ. ข้อ ก.และ ข.ถูก (มาตรา 8.ให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นนิติบุคคลและเป็นราชการส่วนท้องถิ่นเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้แก่เขตจังหวัด)
เขตขององค์การบริหารส่วนจังหวัดคือเขตใด
ก. เขตเทศบาล
ข.เขตจังหวัด
ค.เขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนจังหวัด
ง.เขตเทศบาลเมือง
ตอบ. เขตจังหวัด
สมาชิกภาพของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเริ่มตั้งแต่
ก. วันเลือกตั้ง
ข. วันสมัครรับเลือกตั้ง
ค. วันที่ กกต. ประกาศรับรอง
ง. วันที่ได้รับรองผลคะแนน
ตอบ. วันเลือกตั้ง
อายุของสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดมีกำหนดคราวละกี่ปีนับแต่วันที่เลือกตั้ง
ก. คราวละ 2 ปี
ข. คราวละ 3 ปี
ค. คราวละ 4 ปี
ง. คราวละ 5 ปี
ตอบ. คราวละ 4 ปี (มาตรา10 อายุของสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดมีกำหนดคราละสี่ปีนับแต่วันที่เลือกตั้งสมาชิกสภาของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเริ่มตั้งแต่วันเลือกตั้ง)
ก่อนเข้ารับหน้าที่ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดต้องปฏิญาณตนในที่ประชุมสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดว่า
ก. จะรักษาไว้และปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ข. จะซื่อสัตย์สุจริต
ค. จะปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์ของประชาชน
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ. ถูกทุกข้อ (มาตรา 12. ก่อนเข้ารับกน้าที่ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดต้องปฏิญาณตนในที่ประชุมสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดว่า “จะรักษาไว้และปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จะซื่อสัตย์สุจริตและปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์ของประชาชน”
ให้มีรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้กี่คน
ก. หนึ่งคน
ข. สองคน
ค. สามคน
ง. เท่ากับจำนวนประธานสภาฯ
ตอบ. สองคน
ให้สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเลือกสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นประธานสภาองค์การบริหารส่วจังหวัดคนหนึ่ง และรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดกี่คน
ก. 2 คน
ข. 3 คน
ค. 4 คน
ง. 5 คน
ตอบ. 2 คน (มาตรา17. ให้สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเลือกสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดคนหนึ่งและรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสองคน)
ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องกำหนดให้สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้ประชุมสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดครั้งแรกภายในกี่วันนับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด
ก. ภายใน 7 วัน
ข. ภายใน 15 วัน
ค. ภายใน 30 วัน
ง. ภายใน 45วัน
ตอบ. ภายใน 15 วัน (มาตรา 22.ในปีหนึ่งให้มีสมัยประชุมสามัญสองสมัย ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องกำหนดให้สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้มาประชุมสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดแรกภายในสิบห้าวันนับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด วันเริ่มแรกสมัยประชุมสามัญประจำปี ให้สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดกำหนดสมัยประชุมสามัญให้มีกำหนดสี่สิบห้าวัน แต่ถ้ามีกรณีจำเป็น ให้ประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสั่งขยายสมัยประชุมสามัญออกไปอีก ได้ตามความจำเป็นครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน การปิดสมัยประชุมสามัญก่อนกำหนดเวลาสี่สิบห้าวันจะกระทำมิได้ กรณีที่สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดไม่อาจจัดให้มีการประชุมครั้งแรกได้ตามกำหนดเวลาในวรรคสองหรือมีการประชุมแต่ไม่อาจเลือกประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้ ผู้ว่าราชการจังหวัดอาจเสนอรัฐมนตรีให้มีคำสั่งยุบสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด
วันเริ่มแรกประชุมสามัญประจำปี ให้สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดกำหนด และสมัยประชุมสามัญให้มีกำหนดกี่วัน
ก. กำหนด 7 วัน
ข. กำหนด 15 วัน
ค. กำหนด 30 วัน
ง. กำหนด 45 วัน
ตอบ. กำหนด 45 วัน
ในกรณีที่นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ทำคำร้องขอให้เปิดประชุมสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมัยวิสามัญ ให้ประธานองค์การบริหารส่วนจังหวัดเรียกประชุมสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมัยวิสามัญภายในกี่วันนับแต่วันที่ได้รับคำร้อง
ก. ภายใน 7 วัน
ข. ภายใน 15 วัน
ค. ภายใน 30 วัน
ง. ภายใน 45 วัน
ตอบ. ภายใน 15 วัน (มาตรา25 วรรคสาม ในกรณีที่นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ทำคำร้องขอให้เปิดประชุมสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมัยสามัญ ให้ประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเรียกประชุมสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคำร้อง)
บุคคลผู้มีสิทธิ์สมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดต้องมีอายุตามข้อใด
ก. มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบปีนับถึงวันเลือกตั้ง
ข. มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปีนับถึงวันเลือกตั้ง
ค. มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบปีนับถึงวันเลือกตั้ง
ง. มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบห้าปีนับถึงวันเลือกตั้ง
ตอบ. มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปีนับถึงวันเลือกตั้ง (มาตรา 35/1 บุคคลผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น และต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ด้วย
1.มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปีนับถึงวันเลือกตั้ง
2.สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า หรือเคยเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ผู้บริหารท้องถิ่น หรือสมาชิกรัฐสภา
นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละกี่ปีนับแต่วันเลือกตั้ง
ก. คราวละ 2 ปี
ข. คราวละ 3 ปี
ค. คราวละ 4 ปี
ง. คราวละ 5 ปี
ตอบ. คราวละ 4 ปี (มาตรา35/2 นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปีก็ให้ถือว่าเป็นหนึ่งวาระและเมื่อได้ดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้ กรณีที่นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดดำรงตำแหน่งไม่ครบระยะเวลาสี่ปีก็ให้ถือว่าเป็นหนึ่งวาระและเมื่อได้ดำรงตำแหน่งสองวาระติดต่อกันแล้วจะดำรงตำแหน่งได้อีกเมื่อพ้นระยะเวลาสี่ปีนับแต่วันพ้นจากตำแหน่ง)
ในกรณีที่นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดมีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสี่สิบแปดคน ให้แต่งตั้งรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้ไม่เกินกี่คน
ก. ไม่เกิน 2 คน
ข. ไม่เกิน 3 คน
ค. ไม่เกิน 4 คน
ง. ไม่เกิน 5 คน
ตอบ. ไม่เกิน 4 คน (มาตรา 35/3 นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอาจแต่งตั้งรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดซึ่งมิใช่สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นผู้ช่วยเหลือในการบริหารราชการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดามที่นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดมอบหมายได้ ตามเกณฑ์ดังนี้
1.ในกรณีที่สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดมีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสี่สิบแปดคนให้แต่งตั้งรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้ไม่เกินสี่คน
ปีหนึ่งให้มีสมัยประชุมสามัญขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกี่สมัย
ก. หนึ่งสมัย
ข. สองสมัย
ค. สองสมัยแต่ไม่เกินสี่สมัย
ง. สองสมัยแต่ไม่เกินห้าสมัย
ตอบ. สองสมัย
ในกรณีที่สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดมีสมาชิกส่วนจังหวัดสามสิบคนหรือสี่สิบสองคน ให้แต่งตั้งร้องนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้ไม่เกินกี่คน
ก. ไม่เกิน 2 คน
ข. ไม่เกิน 3 คน
ค. ไม่เกิน 4 คน
ง. ไม่เกิน 5 คน
ตอบ. ไม่เกิน 3 คน (มาตรา35/3(2) ในกรณีที่สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดมีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสามสิบหกคนหรือสี่สิบสองคน ให้แต่งตั้งรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้ไม่เกินสามคน)
ในกรณีที่สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดมีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดยี่สิบสี่คนหรือสามสิบคนให้แต่งตั้งรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้ไม่เกินกี่คน
ก. ไม่เกิน 2 คน
ข. ไม่เกิน 3 คน
ค. ไม่เกิน 4 คน
ง. ไม่เกิน 5 คน
ตอบ. ไม่เกิน 2 คน (มาตรา 35/3(3) ในกรณีที่สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดมีสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัดยี่สิบสี่คนหรือสามสิบคนให้แต่งตั้งรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้ไม่เกินสองคน
นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอาจแต่งตั้งเลขานุการนายกฯ และที่ปรึกษานายกฯ จำนวนรวมกันไม่เกินกี่คน
ก. 2 คน
ข. 3 คน
ค. 4 คน
ง. 5 คน
ตอบ. 5 คน
ผู้ใดมีอำนาจควบคุมและรับผิดชอบในการบริหารส่วนราชการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดตามกฎหมายและเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและลูกจ้างองค์การบริหารส่วนจังหวัด
ก. ผู้ว่าราชการจังหวัด
ข. ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด
ค. นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ. นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (มาตรา 39 ให้นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดควบคุมและรับผิดชอบในการบริหารราชการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดตามกฎหมาย และเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและลูกจ้างการบริหารส่วนจังหวัด
องค์การบริหารส่วนจังหวัดอาจให้บริการแก่เอกชน ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่น โดยเรียกค่าบริการได้ โดยตราเป็น
ก. กฎกระทรวง
ข. ประกาศ
ค. ระเบียบ
ง. ข้อบัญญัติ
ตอบ. ข้อบัญญัติ (มาตรา 48 องค์การบริหารส่วนจังหวัดอาจให้บริการแก่เอกชน ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่น โดยเรียกค่าบริการได้ โดยตราเป็นข้อบัญญัติ)
ข้อบัญญัติจะตราขึ้นได้ในกรณีตามข้อใด
ก. เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้
ข. เมื่อมีกฎหมายบัญญัติให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดตราข้อบัญญัติ หรือให้มีอำนาจตราขัอบัญญัติ
ค. การดำเนินการพาณิชย์ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดตามมาตรา 50
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ. ถูกทุกข้อ (มาตรา51 ข้อบัญญัติขึ้นได้ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้
(2) เมื่อมีกฎหมายบัญญัติให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดตราข้อบัญญัติ หรือให้มีอำนาจตราขัอบัญญัติ
(3) การดำเนินการพาณิชย์ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดตามมาตรา 50
ในข้อบัญญัติตามข้อ 19 จะกำหนดโทษผู้ละเมิดข้อบัญญัติวไว้ด้วยก็ได้ แต่ห้ามมิให้กำหนดโทษเกินตามข้อใด
ก. ห้ามมิให้กำหนดโทษจำคุกเกินสามเดือน และหรือปรับเกินหนึ่งหมื่นบาท
ข. ห้ามมิให้กำหนดโทษจำคุกเกินสี่เดือน และหรือปรับเกินหนึ่งหมื่นบาท
ค. ห้ามมิให้กำหนดโทษจำคุกเกินห้าเดือน และหรือปรับเกินหนึ่งหมื่นบาท
ง. ห้ามมิให้กำหนดโทษจำคุกเกินหกเดือน และหรือปรับเกินหนึ่งหมื่นบาท
ตอบ. ห้ามมิให้กำหนดโทษจำคุกเกินหกเดือน และหรือปรับเกินหนึ่งหมื่นบาท
ภายในกี่วันนับแต่วันที่สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้มีมติเห็นชอบด้วยกับร่างข้อบัญญัติใดให้ประธานองค์การบริหารส่วนจังหวัดส่งร่างข้อบัญญัตินั้นให้ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณา
ก. ภายใน 3 วัน
ข. ภายใน 5 วัน
ค. ภายใน 7 วัน
ง. ภายใน 15 วัน
ตอบ. ภายใน 7 วัน
ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องพิจารณาร่างข้อบัญญัตินั้นให้ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณาให้แล้วเสร็จและส่งคืนประธานองค์การบริหารส่วนจังหวัดภายในกี่วันนับแต่วันที่ได้รับร่างข้อบัญญัติ
ก. ภายใน 7 วัน
ข. ภายใน 15 วัน
ค. ภายใน 30 วัน
ง. ภายใน 45 วัน
ตอบ. ภายใน 15 วัน
เมื่อสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้พิจารณาและเห็นชอบด้วยกับร่างข้อบัญญัติใด ให้ประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดส่งร่างข้อบัญญัตินั้นไปยังนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพื่อลงนามแล้วส่งไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อพิจารณาภายในกี่วันนับแต่วันที่สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดให้ความเห็นชอบ
ก. ภายใน 7 วัน
ข. ภายใน 15 วัน
ค. ภายใน 30 วัน
ง. ภายใน 45 วัน
ตอบ. ภายใน 7 วัน
งบประมาณรายจ่ายขององค์การบริหารส่วนจังหวัดให้ทำเป็น
ก. กฎกระทรวง
ข. ประกาศ
ค. ระเบียบ
ง. ข้อบัญญัติ
ตอบ. ข้อบัญญัติ
ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บตามประมวลรัษฎากร จัดเก็บได้ในจังหวัดใด ให้ส่งมอบให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยละเท่าใดของภาษีที่จัดเก็บได้
ก. ร้อยละ 3
ข. ร้อยละ 4
ค. ร้อยละ 5
ง.ร้อยละ 6
ตอบ. ร้อยละ 5
องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีอำนาจออกข้อบัญญัติเก็บภาษีบำรุงองค์การบริหารส่วนจังหวัดจากการค้าในเขตจังหวัด กรณี ยาสูบให้จัดเก็บเพิ่มขึ้นได้ไม่เกินมวนละเท่าใด
ก. ไม่เกินมวนละ 5 สตางค์
ข. ไม่เกินมวนละ 10 สตางค์
ค. ไม่เกินมวนละ 15 สตางค์
ง. ไม่เกินมวนละ 20 สตางค์
ตอบ. ไม่เกินมวนละ 10 สตางค์
องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีอำนาจออกข้อบัญญัติเพื่อเก็บภาษีอากรและค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้นไม่เกินร้อยเท่าใดของภาษีอากร
ก. ไม่เกินร้อยละ 5
ข. ไม่เกินร้อยละ 7
ค. ไม่เกินร้อยละ 10
ง. ไม่เกินร้อยละ 15
ตอบ. ไม่เกินร้อยละ 10
ผู้ว่าราชการจังหวัดอาจสั่งเพิกถอนมติของสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดซึ่งมิใช่ข้อบัญญัติได้ในกรณีที่ปรากฏว่ามตินั้นฝ่าฝืนกฎหมาย กฎ หรือ ระเบียบข้อบังคับของทางราชการ หรือเป็นมติที่นอกเหนืออำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดคำสั่งเพิกถอนมติของผู้ว่าราชการจังหวัดตามนี้ต้องแสดงเหตุผลของการเพิกถอนมตินั้น และต้องการกระทำภายในกี่วันนับแต่วันที่สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดมีมติ
ก. ภายใน 15 วัน
ข. ภายใน 30 วัน
ค. ภายใน 45 วัน
ง. ภายใน 60 วัน
ตอบ. ภายใน 30 วัน
ให้ใครซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา 42 ใช้บังคับ
ก. ก.จ.
ข. อ.ก.จ.วิสามัญ
ค. อ.ก.จ.จังหวัด
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ. ถูกทุกข้อ (มาตรา 86 ให้ ก.จ. อ.ก.จ วิสามัญ และ อ.ก.จ จังหวัด ซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา 42 ใช้บังคับ ทั้งนี้ไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบนี่วันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ.2540 คือผู้ใด
ก. นายชวน หลีกภัย
ข. พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ
ค. นายประชา เตรัตน์
ง. นายบัญญัติ บรรทัดฐาน
ตอบ. พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ