ต้วอย่างข้อสอบ ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่เคยออกสอบบ่อย สำหรับทดทวนความรู้เตรียมสอบ งานราชการตำแหน่งเกียวกับ นักวิเคราะห์นโยบายและแผน

ข้อใดคือวิสัยทัศน์ประเทศไทย ในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
ก. เพื่อความสุขของคนไทยทุกคน
ข. ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ค. มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน
ง. ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน
ตอบ. ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง.

ข้อใดคือคติพจน์ประจําชาติ ในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
ก. มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน.
ข. สยามเมืองยิ้ม
ค. เมืองไทยเมืองพุทธ
ง. รักชาติยิ่งชีพ
ตอบ. มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน. “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตาม
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” หรือเป็นคติพจน์ประจำชาติว่า “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” เพื่อสนองตอบ
ต่อผลประโยชน์แห่งชาติ อันได้แก่ การมีเอกราช อธิปไตย การดำรงอยู่อย่างมั่นคง และยั่งยืนของสถาบันหลัก

ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีวิสัยทัศน์เพื่อให้ประเทศไทยเป็นประเทศพัฒนาแล้วที่มีคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุดในอาเซียนตามข้อใด
ก. 2580
ข. 2565
ค. 2575
ง. 2570
ตอบ. 2580. ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม.. โดยมีวิสัยทัศน์เพื่อให้ประเทศไทยเป็นประเทศพัฒนาแล้วที่มีคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุดในอาเซียนภายในปี พ.ศ. ๒๕๘๐

ทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เป็นยุทธศาสตร์ชาติฉบับแรกของประเทศไทย ใช้ตั้งแต่
ก. พ.ศ. 2560-2579
ข. พ.ศ. 2561-2580
ค. พ.ศ. 2562-2581
ง. พ.ศ. 2563-2582
ตอบ. พ.ศ. 2561-2580.

คติพจน์ประจำชาติไทย ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ตรงกับข้อใด
ก. มันคง มั่งมี ศรีสุข
ข. มั่นคง มั่งมี ยั่งยืน
ค. มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน
ง. มั่งคั่ง มั่นคง ยั่งยืน
ตอบ. มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน. “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” หรือเป็นคติพจน์ประจ าชาติว่า “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” เพื่อสนองตอบต่อผลประโยชน์แห่งชาติ

การปลูกฝังและพัฒนาทักษะนอกห้องเรียน ยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากร มนุษย เน้นข้อใด
ก. ครู
ข. พ่อแม่
ค. ผู้ปกครอง
ง. ครูแนะแนว
ตอบ. พ่อแม่. การปลูกฝังและพัฒนาทักษะนอกห้องเรียน โดยเน้นให้พ่อแม่มีวัฒนธรรมที่ปลูกฝังให้ลูกเพิ่มพูนทักษะการเรียนรู้ชีวิต ดนตรี กีฬา ศิลปะ รวมทั้งส่งเสริมให้ทุกภาคส่วน เปิดพื้นที่แห่งการเรียนรู้และจัดกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายและเหมาะสม เอื้อแก่ครอบครัวทุกลักษณะ รวมถึงจัดให้มีพื้นที่ในการจัดกิจกรรมสาธารณะให้เป็นศูนย์รวมแห่งการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้ร่วมกันเพื่อส่งเสริมการใช้เวลาอย่างสร้างสรรค์และมีคุณภาพ ตลอดจนการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีคุณภาพและสามารถเข้าถึงได้ง่าย

คณะกรรมการจัดทํายุทธศาสตร์ชาติด้านต่าง ๆ มีกี่คณะ
ก. 4 คณะ
ข. 5 คณะ
ค. 6 คณะ
ง. 7 คณะ
ตอบ. 6 คณะ. อันประกอบด้วย 1)คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง 2)คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน 3)คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ 4)คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม 5)คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
และ 6)คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตราใดกําหนดให้รัฐพึงจัดให้มียุทธศาสตร์ชาติเป็นเป้าหมายการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ตามหลักธรรมาภิบาล
ก. มาตรา 55
ข. มาตรา 65
ค. มาตรา 75
ง. มาตรา 85
ตอบ. มาตรา 65. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๖๕ กำหนดให้รัฐพึงจัดให้มียุทธศาสตร์ชาติเป็นเป้าหมายการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ตามหลักธรรมาภิบาลเพื่อใช้เป็นกรอบในการจัดทำแผนต่าง ๆ ให้สอดคล้องและบูรณาการกันเพื่อให้เกิดเป็นพลังผลักดันร่วมกันไปสู่เป้าหมายดังกล่าว โดยให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการจัดทำายุทธศาสตร์ชาติ และต่อมาได้มีการตราพระราชบัญญัติการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๖๐

ข้อใดไม่ใช่ด้านต่างๆ ของคณะกรรมการจัดทํายุทธศาสตร์ชาติ
ก. ด้านเศรษฐกิจ
ข. ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน
ค. ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
ง. ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ตอบ. ด้านเศรษฐกิจ. ประกอบด้วย ๖ ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ

สร้างความเป็นธรรม และลดความเหลื่อมล้ำใน เป็นเป้าหมายของยุทธ์ศาสตร์ในข้อใด
ก. ความมั่นคง
ข. การสร้างความสามารถในการแข่งขัน
ค. การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์
ง. การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม
ตอบ. การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม

ยุทธศาสตร์ชาติต้องได้รับความเห็นชอบจาก
ก. คณะรัฐมนตรี
ข. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ค. คณะรัฐมนตรีและสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ง. นายกรัฐมนตรี
ตอบ. คณะรัฐมนตรีและสภานิติบัญญัติแห่งชาติ. กำหนดให้มีคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อรับผิดชอบในการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ และเมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีและสภานิติบัญญัติแห่งชาติแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อมีพระบรมราชโองการประกาศใช้เป็นยุทธศาสตร์ชาติต่อไป

คำว่า ‘ประชารัฐ’ ในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่มีการกล่าวถึง ประกอบด้วยกี่ยุทธศาสตร์’
ก. 5 ยุทธศาสตร์
ข. 6 ยุทธศาสตร์
ค. 8 ยุทธศาสตร์
ง. 10 ยุทธศาสตร์
ตอบ. 6 ยุทธศาสตร์. ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1. ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง 2. ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน 3. ยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ 4. ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม 5. ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 6. ยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ

คำว่า ‘รู้ รับ ปรับใช้’ หมายถึงใช้อะไร ในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
ก. เทคโนโลยี
ข. ระบบสวัสดิการ
ค. กระบวนการยุติธรรม
ง. การศึกษา
ตอบ. เทคโนโลยี.

ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน มีเป้าหมายการพัฒนาที่มุ่งเน้นการยกระดับศักยภาพของประเทศในหลากหลายมิติบนพื้นฐานแนวคิดกี่ประการ
ก. 3 ประการ
ข. 5 ประการ
ค. 7 ประการ
ง. 10 ประการ
ตอบ. 3 ประการ. ได้แก่ (๑) “ต่อยอดอดีต” โดยมองกลับไปที่รากเหง้าทางเศรษฐกิจ อัตลักษณ์ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และจุดเด่นทางทรัพยากร ธรรมชาติที่หลากหลาย รวมทั้งความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบของประเทศในด้านอื่น ๆ นำมาประยุกต์ผสมผสานกับเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อให้สอดรับกับบริบทของเศรษฐกิจและสังคมโลกสมัยใหม่
(๒) “ปรับปัจจุบัน” เพื่อปูทางสู่อนาคต ผ่านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศในมิติต่าง ๆ ทั้งโครงข่ายระบบคมนาคมและขนส่ง โครงสร้างพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และดิจิทัล และการปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการอนาคต และ
(๓) “สร้างคุณค่าใหม่ในอนาคต” ด้วยการเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการ พัฒนาคนรุ่นใหม่ รวมถึงปรับรูปแบบธุรกิจ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาด ผสมผสานกับยุทธศาสตร์ที่รองรับอนาคต บนพื้นฐานของการต่อยอดอดีตและปรับปัจจุบัน พร้อมทั้งการส่งเสริมและสนับสนุนจากภาครัฐให้ประเทศไทยสามารถสร้างฐานรายได้และการจ้างงานใหม่ ขยายโอกาสทางการค้าและการลงทุนในเวทีโลก ควบคู่ไปกับการยกระดับรายได้และการกินดีอยู่ดี รวมถึงการเพิ่มขึ้น
ของคนชั้นกลาง และลดความเหลื่อมล้ าของคนในประเทศได้ในคราวเดียวกัน

ข้อใดไม่ใช่ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน
ก. สร้างคุณค่าใหม่ในอนาคต
ข. ก้าวทันเทคโนโลยี
ค. ต่อยอดอดีต
ง. ปรับปัจจุบัน
ตอบ. ก้าวทันเทคโนโลยี. ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน (๑) “ต่อยอดอดีต” (๒) “ปรับปัจจุบัน” ๓) “สร้างคุณค่าใหม่ในอนาคต”

ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ให้ความสําคัญกับการสร้างสมดุลทั้งหมดกี่ด้าน
ก. 3 ด้าน
ข. 5 ด้าน
ค. 7 ด้าน
ง. 10 ด้าน
ตอบ. 3 ด้าน. ทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิต โดยให้ความสำคัญกับการสร้างสมดุลทั้ง ๓ ด้าน อันจะนำไปสู่
ความยั่งยืนเพื่อคนรุ่นต่อไปอย่างแท้จริง

การประเมินผลการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ชาติ ข้อแรกเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร
ก. ความเท่าเทียมและความเสมอภาคของสังคม
ข. ขีดความสามารถในการแข่งขัน การพัฒนาเศรษฐกิจ และการกระจายรายได้
ค. ประสิทธิภาพการบริหารจัดการและการเข้าถึงการให้บริการของภาครัฐ
ง. ความอยู่ดีมีสุขของคนไทยและสังคมไทย
ตอบ. ความอยู่ดีมีสุขของคนไทยและสังคมไทย. การประเมินผลการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ชาติประกอบด้วย
๑) ความอยู่ดีมีสุขของคนไทยและสังคมไทย
๒) ขีดความสามารถในการแข่งขัน การพัฒนาเศรษฐกิจ และการกระจายรายได้
๓) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ
๔) ความเท่าเทียมและความเสมอภาคของสังคม
๕) ความหลากหลายทางชีวภาพ คุณภาพสิ่งแวดล้อม และความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติ
๖) ประสิทธิภาพการบริหารจัดการและการเข้าถึงการให้บริการของภาครัฐ

หลักยึดของ ยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ คือข้อใด
ก. ประชาชนต้องมาก่อน
ข. ประชาชนเป็นศูนย์กลาง
ค. ภาครัฐของประชาชนเพื่อประชาชน และประโยชน์ส่วนรวม
ง. โปร่งใส และตรวจสอบได้
ตอบ. ภาครัฐของประชาชนเพื่อประชาชน และประโยชน์ส่วนรวม. ยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ มีเป่าหมายการพัฒนาที่สำคัญเพื่อปรับเปลี่ยนภาครัฐที่ยึดหลัก “ภาครัฐของประชาชนเพื่อประชาชนและประโยชน์ ส่วนรวม” โดยภาครัฐต้องมีขนาดที่เหมาะสมกับบทบาทภารกิจ แยกแยะบทบาทหน่วยงานของรัฐ…

ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคงมีเป้าหมายสําคัญในภาพรวมระยะ 20 ปีที่เป็นรูปธรรมชัดเจน คือ
ก. ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข
ข. ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน
ค. มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน
ง. ความสุขของคนไทยทุกคน
ตอบ. ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข. ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง มีเป้าหมายการพัฒนาที่สำคัญ คือ ประเทศชาติมั่นคงประชาชนมีความสุข เน้นการบริหารจัดการสภาวะแวดล้อมของประเทศให้มีความมั่นคง ปลอดภัยเอกราชอธิปไตย และมีความสงบเรียบร้อยในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับชาติ สังคม ชุมชน มุ่งเน้นการพัฒนาคน เครื่องมือ
เทคโนโลยี และระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ให้มีความพร้อมสามารถรับมือกับภัยคุกคามและภัยพิบัติได้ทุกรูปแบบ และทุกระดับความรุนแรง

การพัฒนาเศรษฐกิจบนพื้นฐานผู้ประกอบการยุคใหม่ ข้อใดคือสิ่งที่ต้องการให้ผู้ประกอบการเป็น
ก. ผลิตเก่ง
ข. ซื้อเป็น
ค. ขายเป็น
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ. ง. ถูกทุกข้อ. มีความสามารถในการเข้าถึงตลาดทั้งในและต่างประเทศเป็นผู้ประกอบการที่ “ผลิตเก่ง ขายเก่ง” หรือ “ซื้อเป็น ขายเป็น” บริการเป็นเลิศ สามารถขยายการค้า และการลงทุนไปต่างประเทศ รวมทั้งส่งเสริมให้ผู้ประกอบการมีธรรมาภิบาล

ข้อใดไม่ใช่การเปลี่ยนโฉมบทบาท ครู ให้เป็นครูยุคใหม่
ก. ครูสอน
ข. โค้ช
ค. ผู้อํานวยการการเรียนรู้
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ. ครูสอน. การเปลี่ยนโฉมบทบาท ‘ครู’ให้เป็นครูยุคใหม่ โดยปรับบทบาทจาก “ครูสอน” เป็น “โค้ช” หรือ “ผู้อำนวยการการเรียนรู้” ทำหน้าที่กระตุ้น สร้างแรงบันดาลใจ แนะนำวิธีเรียนรู้และวิธีจัดระเบียบการสร้างความรู้ ออกแบบกิจกรรมและสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียน และมีบทบาทเป็นนักวิจัยพัฒนากระบวนการเรียนรู้เพื่อผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน รวมทั้งปรับระบบการผลิตและพัฒนาครูตั้งแต่การดึงดูด คัดสรรผู้มีความสามารถสูงให้เข้ามาเป็นครูคุณภาพ มีระบบการพัฒนาศักยภาพและสมรรถนะครูอย่างต่อเนื่องครอบคลุมทั้งเงินเดือน เส้นทางสายอาชีพ การสนับสนุนสื่อการสอน และสร้างเครือข่ายพัฒนาครูให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน รวมถึงการพัฒนาครูที่มีความเชี่ยวชาญด้านการสอนมาเป็นผู้สร้างครูรุ่นใหม่อย่างเป็นระบบ และวัดผลงานจากการพัฒนาผู้เรียนโดยตรง

ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วยเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืนกี่เป้าหมาย
ก. 3 เป้าหมาย
ข. 9 เป้าหมาย
ค. 12 เป้าหมาย
ง. 17 เป้าหมาย
ตอบ. 17 เป้าหมาย.

ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ได้น้อมน าศาสตร์ของ
พระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

ก. มีความพอประมาณ
ข. มีเหตุผล
ค. มีภูมิคุ้มกัน
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ. ถูกทุกข้อ. ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ได้น้อมน าศาสตร์ของพระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน โดยยึดหลัก ๓ ประการคือ “มีความพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน” มาเป็นหลักในการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติควบคู่กับการนำเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้ง ๑๗ เป้าหมาย มาเป็นกรอบแนวคิดที่จะผลักดันดำเนินการเพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกมิติ

ข้อใดไม่ใช่ 3R ในการจัดการมลพิษที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสารเคมีในภาคเกษตรทั้งระบบ ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลและค่ามาตรฐานสากล
ก. Repair
ข. Recycle
ค. Reduce
ง. Reuse
ตอบ. Repair.

ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2568)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *