ตัวอย่างข้อสอบ พรบ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 สำหรับทบทวนทดสอบความความรู้ ก่อนสอบสนามจริง โหลดได้ฟรี


ข้าราชการพลเรือน ตามกฎหมายใหม่ มีกี่ประเภท ได้แก่
ก. 2 ประเภท คือ ข้าราชการพลเรือนสามัญ และข้าราชการพลเรือนในพระองค์
ข. 3 ประเภท คือ ข้าราชการพลเรือนสามัญ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ และข้าราชการประจำต่างประเทศพิเศษ
ค. 4 ประเภท คือ ข้าราชการพลเรือนสามัญ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ และข้าราชการประจำต่างประเทศพิเศษและข้าราชการตุลาการ
ง. 5 ประเภท คือ ข้าราชการพลเรือนสามัญ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ และข้าราชการประจำต่างประเทศพิเศษ ข้าราชการตุลาการ และข้าราชการอัยการ

ตอบ. 2 ประเภท คือ ข้าราชการพลเรือนสามัญ และข้าราชการพลเรือนในพระองค์

ผู้ใดมีอำนาจหน้าที่กำหนดการลาหยุดราชการของข้าราชการพลเรือน
ก. คณะรัฐมนตรี
ข. คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
ค. รัฐมนตรีเจ้าสังกัด
ง. ปลัดกระทรวง

ตอบ. คณะรัฐมนตรี มาตรา 39 บัญญัติให้คณะรัฐมนตรีกำหนดการลาหยุดราชการของข้าราชการพลเรือน

นาย ก รับราชการเป็นเจ้าพนักงานตรวจเงินแผ่นดินอยู่ที่จังหวัดสกลนคร นาย ก เป็นข้าราชการประเภทใด
ก. ข้าราชการพลเรือนสามัญ
ข. ข้าราชการประจำต่างประเทศพิเศษ
ค. ข้าราชการอัยการ
ง. ข้าราชการพลเรือสามัญ

ตอบ. ข้าราชการพลเรือนสามัญ

ผู้ที่เคยถูกลงโทษไล่ออกเพราะกระทำผิดวินัย อาจได้รับยกเว้นให้เข้ารับราชการได้ ต่อเมื่อออกจากราชการไปแล้วกี่ปี
ก. 2 ปี
ข. 3 ปี
ค. 4 ปี
ง. ไม่มีข้อใดถูกต้อง

ตอบ. 3 ปี มาตรา 36 วรรคสอง บัญญัติให้ผู้เคยถูกลงโทษไล่ออกเพราะกระทำผิดวินัยซึ่งออกจากราชการไปเกิน 3 ปี แล้ว อาจได้รับการยกเว้นให้เข้ารับราชการได้

ผู้อำนวยการสำนักงานงบประมาณ เป็นข้าราชการประเภทใด
ก. ข้าราชการสำนักนายกรัฐมนตรี
ข. ข้าราชการประจำต่างประเทศพิเศษ
ค. ข้าราชการกระทรวงการคลัง
ง. ข้าราชการพลเรือนสามัญ

ตอบ. ข้าราชการพลเรือนสามัญ

ข้อใดมิใช่ “ข้าราชการพลเรือน”
ก. ข้าราชการในกระทรวงต่างประเทศ
ข. ข้าราชการในกระทรวงกลาโหม
ค. ข้าราชการในกระทรวงมหาดไทย
ง. ข้าราชการอัยการ

ตอบ. ข้าราชการอัยการ

ข้อใดมิใช่ “ข้าราชการพลเรือน”
ก. ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข. ข้าราชการปกครอง
ค. ข้าราชการตำรวจ
ง. ถูกทุกข้อ

ตอบ. ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่เมื่อใด
ก. 25 มกราคม 2551
ข. 26 มกราคม 2551
ค. 4 มิถุนายน 2551
ง. 23 สิงหาคม 2551

ตอบ. 26 มกราคม 2551

ผู้ใดเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
ก. รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ข. รองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย
ค. รัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย
ง. นายกรัฐมนตรี

ตอบ. นายกรัฐมนตรี

คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เรียกโดยย่อว่า
ก. ก.พ.ร.
ข. ก.พ.ค.
ค. ก.พ.
ง. อ.ก.พ.

ตอบ. ก.พ.

ผู้ใดมิได้เป็นคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)
ก. นายกรัฐมนตรี
ข. เลขาธิการ ก.พ.
ค. ปลัดกระทรวงการคลัง
ง. เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา

ตอบ. เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา

ผู้ที่มีอำนาจหน้าที่กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการให้ได้รับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวตามภาวะเศรษฐกิจ คือใคร
ก. ก.พ.
ข. กระทรวงการคลัง
ค. สำนักงบประมาณ
ง. คณะรัฐมนตรี

ตอบ. คณะรัฐมนตรี มาตรา 36 วรรคสอง บัญญัติให้ใช้คะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 4 ใน 5 ของจำนวนกรรมการที่มาประชุม เพื่อยกเว้นลักษณะต้องห้ามการเป็นข้าราชการพลเรือน

กรรมการซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ให้อยู่ในตำแหน่งคราวละกี่ปี
ก. 3 ปี
ข. 4 ปี
ค. 6 ปี
ง. 7 ปี

ตอบ. 3 ปี

ข้อใดมิใช่ลักษณะต้องห้ามของข้าราชการพลเรือน
ก. เป็นเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง
ข. ถูกสั่งพักราชการ
ค. ถูกฟ้องคดีล้มละลาย
ง. บกพร่องในศีลธรรมอันดีจนเป็นที่รังเกียจของสังคม

ตอบ. ถูกฟ้องคดีล้มละลาย ลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 36 ข. (6) เป็นบุคคลล้มละลาย คือศาลมีคำพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายแล้ว ดังนั้นกรณีที่ถูกฟ้องคดีล้มละลาย ยังไม่เข้าข่ายเป็นบุคคลล้มละลาย จึงไม่ใช่ลักษณะต้องห้ามของการเป็นข้าราชการพลเรือน

ถ้าตำแหน่งกรรมการซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งว่างลงก่อนกำหนดและยังมีกรรมการดังกล่าวเหลืออยู่อีกกี่คน ให้กรรมการที่เหลือปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้
ก. ไม่น้อยกว่า 2 คน
ข. ไม่น้อยกว่า 3 คน
ค. ไม่น้อยกว่า 4 คน
ง. ไม่น้อยกว่า 5 คน

ตอบ. ไม่น้อยกว่า 3 คน

เมื่อตำแหน่งกรรมการซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งว่างลงก่อนกำหนด ให้ดำเนินการแต่งตั้ง กรรมการแทนภายในกำหนดกี่วัน
ก. 30 วัน
ข. 45 วัน
ค. 60 วัน
ง. 90 วัน

ตอบ. 30 วัน

ข้อใดไม่เป็นอำนาจหน้าที่ของ ก.พ.
ก. เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบายและยุทธศาสตร์การบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐ
ข. รายงานคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาปรับปรุงเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง
ค. กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และมาตรการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลของข้าราชการพลเรือน
ง. ให้ความเห็นชอบกรอบอัตรากำลังของส่วนราชการ

ตอบ. ให้ความเห็นชอบกรอบอัตรากำลังของส่วนราชการ

ข้าราชการคนใดถือเป็นข้าราชการพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน
ก. วิทยากร สังกัดสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ข. ครู สังกัดโรงเรียนอนุบาลอุบล
ค. ทหาร สังกัดฐานทัพเรือสัตหีบ
ง. นักวิชาการที่ดิน สังกัดสำนักงานที่ดินจังหวัดสุรินทร์

ตอบ. นักวิชาการที่ดิน สังกัดสำนักงานที่ดินจังหวัดสุรินทร์ เป็นข้าราชการพลเรือนตามมาตรา 4 “ข้าราชการพลเรือน”

กรณีที่ ก.พ.เห็นว่าการบริหารทรัพยากรบุคคลในเรื่องใดที่ข้าราชการฝ่ายพลเรือนทุกประเภท หรือบางประเภทควรมีมาตรฐานหรือหลักเกณฑ์เดียวกัน ให้ ก.พ. จัดให้มีการประชุมเพื่อหารือร่วมกันระหว่าง
ก. ผู้แทน ก.พ.
ข. ผู้แทน ก.พ.ร.
ค. ผู้แทนองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการฝ่ายพลเรือนประเภทต่างๆ
ง. ถูกทุกข้อ

ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
ก. เรียกโดยย่อว่าสำนักงาน ก.พ.
ข. เลขาธิการ ก.พ.เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการของสำนักงาน ก.พ.
ค. เลขาธิการ ก.พ. เป็นผู้บริหารของสำนักงาน ก.พ.
ง. ถูกทุกข้อ

ตอบ. ถูกทุกข้อ

พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน ฯ กำหนดให้มีคณะอนุกรรมการสามัญ (อ.ก.พ. สามัญ) ในระดับใดบ้าง
ก. อ.ก.พ. กระทรวง
ข. อ.ก.พ. กรม
ค. อ.ก.พ. จังหวัด
ง. ถูกทุกข้อ

ตอบ. ถูกทุกข้อ

ผู้ใดเป็นประธาน อ.ก.พ. กระทรวง
ก. รัฐมนตรีเจ้าสังกัด
ข. รัฐมนตรีช่วยว่าการ ฯ
ค. ปลัดกระทรวง
ง. ผู้แทน ก.พ.

ตอบ. รัฐมนตรีเจ้าสังกัด

ผู้ใดเป็นประธาน อ.ก.พ. กรม
ก. รัฐมนตรีเจ้าสังกัด
ข. รัฐมนตรีช่วยว่าการ ฯ
ค. ปลัดกระทรวง
ง. อธิบดี

ตอบ. อธิบดี

ผู้ใดเป็นประธาน อ.ก.พ. จังหวัด
ก. ผู้ว่าราชการจังหวัด
ข. รองผู้ว่าราชการจังหวัด
ค. ปลัดจังหวัด
ง. หัวหน้าสำนักงานจังหวัด

ตอบ. ผู้ว่าราชการจังหวัด

บัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญแบ่งออกเป็นกี่ประเภท
ก. 2 ประเภท
ข. 3 ประเภท
ค. 4 ประเภท
ง. 5 ประเภท

ตอบ. แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ตามประเภทของข้าราชการพลเรือนสามัญ แนบท้ายพระราชบัญญัตินี้

ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม
ก. เรียกโดยย่อว่า ก.พ.ค.
ข. ประกอบด้วยคณะกรรมการ 7 คน อยู่ในตำแหน่งคราวละ 6 ปี
ค. กรรมการ ก.พ.ค. อย่างน้อย 3 คนต้องทำงานเต็มเวลา
ง. เลขาธิการ ก.พ. เป็นเลขานุการของ ก.พ.ค.

ตอบ. กรรมการ ก.พ.ค. อย่างน้อย 3 คนต้องทำงานเต็มเวลา

กรณีใดที่กรรมการ ก.พ.ค. ต้องพ้นจากตำแหน่ง
ก. มีอายุครบ 70 ปี บริบูรณ์
ข. ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม
ค. ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดฐานหมิ่นประมาท แต่ได้มีการรอการลงโทษ
ง. ข้อ ก. และ ข.

ตอบ. ข้อ ก. และ ข.

ข้อใด มิใช่ อำนาจหน้าที่ของ ก.พ.ค.
ก. เสนอแนะต่อ ก.พ. หรือองค์กรกลางบริหารงานบุคคลอื่น เพื่อให้ ก.พ. หรือองค์กรกลางบริหารงานบุคคลอื่น ดำเนินการจัดให้มีหรือปรับปรุงนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคลในส่วนที่เกี่ยวกับการพิทักษ์ระบบคุณธรรม
ข. พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์
ค. พิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์
ง. ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ. ไม่มีข้อใดถูก

การจัดระเบียบข้าราชการพลเรือนต้องเป็นไปเพื่อ
ก. ผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
ข. ความมีประสิทธิภาพ
ค. ความคุ้มค่า
ง. ถูกทุกข้อ

ตอบ. ถูกทุกข้อ

กรณีผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนและมีลักษณะต้องห้าม ก.พ. อาจพิจารณายกเว้นให้เข้ารับราชการได้ในกรณีใดบ้าง
ก. เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกจากรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐเกิน 2 ปี
ข. เคยถูกลงโทษให้ออกหรือปลดออก เพราะกระทำผิดวินัยเกิน 2 ปี
ค. เคยถูกลงโทษให้ออก เพราะกระทำผิดวินัยเกิน 2 ปี ยกเว้นออกจากราชการเพราะทุจริตต่อหน้าที่
ง. ข้อ ก. หรือ ข.

ตอบ. ข้อ ก. หรือ ข.

ข้าราชการพลเรือนสามัญมีเสรีภาพในการรวมกลุ่มตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่ทั้งนี้ต้อง……………
ก. ไม่กระทบประสิทธิภาพในการบริหารราชการแผ่นดิน
ข. ไม่กระทบความต่อเนื่องในการจัดทำบริการสาธารณะ
ค. ไม่มีวัตถุประสงค์ทางการเมือง
ง. ถูกทุกข้อ

ตอบ. ถูกทุกข้อ

ข้อใดมิใช่คุณสมบัติทั่วไปของผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือน
ก. มีสัญชาติไทย
ข. มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี
ค. เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ
ง. เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

ตอบ. เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนมีกี่ประเภท
ก. 2 ประเภท
ข. 3 ประเภท
ค. 4 ประเภท
ง. 5 ประเภท

ตอบ. 4 ประเภท ตำแหน่งประเภทบริหาร,ตำแหน่งประเภทอำนวยการ,ตำแหน่งประเภทวิชาการ,ตำแหน่งประเภททั่วไป

ข้อใดไม่ใช่ระดับตำแหน่งข้าราชการพลเรือนประเภทวิชาการ
ก. ระดับปฏิบัติงาน
ข. ระดับชำนาญการ
ค. ระดับชำนาญการพิเศษ
ง. ระดับเชี่ยวชาญ

ตอบ. ระดับปฏิบัติงาน

คณะรัฐมนตรีจะพิจารณาปรับเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูง หรือเงินเดือนประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนเพิ่มไม่เกินร้อยละเท่าใดของเงินเดือน
ก. ร้อยละ 5
ข. ร้อยละ 10
ค. ร้อยละ 15
ง. ร้อยละ 20

ตอบ. ร้อยละ 10

การสรรหาเพื่อให้ได้บุคคลมาบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ต้องเป็นไปตามข้อใด
ก. ระบบคุณธรรม
ข. พฤติกรรมทางจริยธรรม
ค. ประโยชน์ของทางราชการ
ง. ถูกทุกข้อ

ตอบ. ถูกทุกข้อ

กระทรวงหรือกรมใดมีเหตุผลและความจำเป็นอย่างยิ่ง จะบรรจุบุคคลที่มีความรู้ความสามารถและความชำนาญงานสูงเข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับใดบ้าง
ก. ชำนาญการ
ข. ชำนาญการพิเศษ
ค. เชี่ยวชาญ
ง. ถูกทุกข้อ

ตอบ. ถูกทุกข้อ

กระทรวงหรือกรมใดมีเหตุผลละความจำเป็นอย่างยิ่ง จะบรรจุบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ และความชำนาญงานสูง เข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับใดบ้าง
ก. ปฏิบัติงาน
ข. ชำนาญงาน
ค. อาวุโส
ง. ทักษะพิเศษ

ตอบ. ทักษะพิเศษ

ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารซึ่งปฏิบัติหน้าที่เดียวติดต่อกันเป็นเวลาครบ 4 ปี ต้องมีการสับเปลี่ยนหน้าที่ เว้นแต่มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ของทางราชการ จะขออนุมัติคณะรัฐมนตรีให้คงอยู่ปฏิบัติหน้าที่ได้ไม่เกินกี่ปี
ก. 2 ปี
ข. 3 ปี
ค. 4 ปี
ง. 5 ปี

ตอบ. 2 ปี

ในกรณีที่ศาลปกครองมีคำพิพากษาถึงที่สุดสั่งเพิกถอนคำสั่งแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้เป็นหน้าที่ของผู้ใดในการสั่งการตามสมควร เพื่อเยียวยาและแก้ไขหรือดำเนินการตามที่เห็นสมควรได้
ก. ก.พ.
ข. สำนักงาน ก.พ.
ค. ปลัดกระทรวง
ง. คณะรัฐมนตรี

ตอบ. ก.พ.

ข้อใดคือจรรยาข้าราชการ
ก. การยึดมั่นและยืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง
ข. การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้
ค. การปฏิบัติหน้าที่โดยไม่เลือกปฏิบัติอย่างเป็นธรรม
ง. ถูกทุกข้อ

ตอบ. ถูกทุกข้อ

ข้อใดไม่ใช่ทางวินัยของข้าราชการพลเรือน
ก. ภาคทัณฑ์
ข. ตัดเงินเดือน
ค. ลดขั้นเงินเดือน
ง. ปลดออก

ตอบ. ลดขั้นเงินเดือน

ข้าราชการพลเรือนสามัญในกรมเดียวกันที่อธิบดีหรือปลัดกระทรวงถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยร่วมกับผู้ใต้บังคับบัญชา ให้ผู้ใดเป็นผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
ก. ปลัดกระทรวง
ข. รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
ค. นายกรัฐมนตรี
ง. ข้อ ก. หรือ ข.

ตอบ. ข้อ ก. หรือ ข.

ข้าราชการสามัญในตำแหน่งใดบ้างเมื่ออายุครบ 60 ปี บริบูรณ์ในสิ้นปีงบประมาณและทางราชการมีความจำเป็นที่จะให้รับราชการต่อไปได้อีกก็ได้
ก. เชี่ยวชาญ
ข. ทรงคุณวุฒิ
ค. อาวุโส
ง. ถูกทุกข้อ

ตอบ. ถูกทุกข้อ

ผู้ใดถูกสั่งโทษให้ออกจากราชการผู้นั้นมีสิทธิ์อุทธรณ์ต่อผู้ใด
ก. ก.พ.
ข. ก.พ.ร.
ค. ก.พ.ค.
ง. สำนักงาน ก.พ.

ตอบ. ก.พ.ค.

เมื่อ ก.พ.ค. พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์แล้ว ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุดำเนินการให้เป็นไปตามคำวินิจฉัยภายในกี่วัน
ก. 30 วัน
ข. 45 วัน
ค. 60 วัน
ง. 90 วัน

ตอบ. 30 วัน

การร้องทุกข์ที่เหตุเกิดจากหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือต่อรัฐมนตรี ปลัดกระทรวง รัฐมนตรีเจ้าสังกัด หรือนายกรัฐมนตรีให้ร้องทุกข์ต่อผู้ใด
ก. ก.พ.
ข. ก.พ.ร.
ค. ก.พ.ค.
ง. สำนักงาน ก.พ.

ตอบ. ก.พ.ค.

การดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ให้กระทำแล้วเสร็จภายในกี่วัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ก. 30 วัน
ค. 60 วัน
ค. 90 วัน
ง. 120 วัน

ตอบ. 120 วัน

การดำเนินการแต่งตั้ง ก.พ.ค. ให้กระทำแล้วเสร็จภายในกี่วัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ก. 30 วัน
ข. 60 วัน
ค. 90 วัน
ง. 180 วัน

ตอบ. 180 วัน

พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 แก้ไขเพิ่มเติมในเรื่องสำคัญใด
ก. เรื่องทั่วไป
ข. ยกเลิกข้าราชการพลเรือนในพระองค์
ค. ปรับอัตราเงินเดือน
ง. การดำเนินการทางวินัย

ตอบ. การดำเนินการทางวินัย พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 ประกาศใช้บังคับเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2562 เพื่อแก้ปัญหาการดำเนินการทางวินัยของข้าราชการฝ่ายพลเรือนประเภทต่างๆ ให้สอดคล้อง เสมอภาคกันมาตรา 4 บัญญัติว่า ในพระราชบัญญัตินี้ “ส่วนราชการ” หมายความว่าส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม และส่วนราชการที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินและมีฐานะไม่ต่ำกว่ากรม

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *